สักแต่ถาม | เรื่องสักๆของสังคมไทยและญี่ปุ่น…ปี2020

|สังคมญี่ปุ่น|

1.ร้านสักในญี่ปุ่นมักอยู่ในมุมมืด

ถ้าจะลองดูและเปรียบเทียบกันระหว่างร้านสักของญี่ปุ่นและร้านประเภทอื่นๆ เช่นร้านอาหาร เสื้อผ้า ร้านตัดผม ถามว่าเหตุเหตุใดจึงไม่มีการตั้งหน้าร้านอย่าง
โจ่งแจ้งและเปิดเผย ให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายๆ เหตุผลเพราะ

2.ธุรกิจการสักลายยังไม่เป็นงานที่ถูกกฎหมายในญี่ปุ่น

ขณะนี้นักสิทธิหรือบุคคลผู้รักงงานศิลปะทั้งหลายท่านในญี่ปุ่นกำลังยื่นฎีกาหาข้อแก้ต่างให้งานสักอยู่เรื่อยมา แต่ยังถือว่าเป็นธุรกิจสีเทาๆอยู่เช่นเดิม การเปิดธุรกิจร้านสักจึงไม่สามารถเปิดข้างถนนขึ้นป้ายใหญ่โตดังเช่นประเทศไทยของเราได้

3.ถูกจำกัดสิทธิ

บุคคลผู้มีรอยสักยังคงถูกจำกัดสิทธิหลายๆด้าน แม้ในปัจจุบันนี้ความเจริญจะแผ่ขายไปในงานและธุรกิจหลายๆแขนงแล้วก็ตาม แต่สังคมเรามักจะมี 2 ด้านเสมอ เมื่อมีคนเห็นดี
ก็ย่อมมีคนไม่เห็นดีด้วยเช่นกัน เรามาดูว่าคนญี่ปุ่นที่มีรอยสักนั้น ถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้างภายในประเทศตัวเอง
-ลงแช่บ่อน้ำร้อน อ็อนเซ็นสาธารณะเป็นเรื่่องที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและติดป้ายไว้อย่างชัดเจนเรื่องการจำกัดสิทธิของคนมีรอยสัก แต่ยังมีสถานที่ราวๆ10-20 ในญี่ปุ่นที่มีการยกเว้นเช่น บ่อน้ำร้อนตามโรงแรมบางที่ ที่มีไว้บริการสำหรับแขกผู้เข้าพัก หรือแบบPrivate และแหล่งแช่ออนเซ็นที่ถูกอนุญาติโดยเจ้าของสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ Tattoo Friendly
-การทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เนื่องจากภาพลักษณ์ของยากูซ่า ยังคงไม่จางหายไปจากสังคมญี่ปุ่น ทำให้หลายๆธุรกิจซึ่งจัดการเกี่ยวกับชีวิตและสุขภาพย่อมได้รับความเสี่ยงตามมา
ในการจำกัดสิทธิเช่นนี้ จึงเป็นข้อตกลงที่ผู้สักควรทำความเข้าใจ
-การเข้าสถานที่ราชการ แม้จะไม่มีการประกาศอย่างโจ่งแจ้ง แต่นิสัยคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ มักจะปฎิบัติตามที่สังคมส่วนใหญ่เห็นว่าทำได้ ดังนั้นเราจะเห็นคนญี่ปุ่นโชว์รอยสักตามสถานที่สาธารณะน้อยมากๆ

 

 

|สังคมไทย|

 

1.มีร้านสักอยู่แทบทุกหัวมุม

ร้านสักในกรุงเทพมหานคร ณ ปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นใหม่แทบทุกๆปี กระจายอยู่ทั่วทุกเขตในกรุงเทพมหานครและรอบๆปริมณฑล เห็นได้ว่าคุณจะหาสักได้แม้กระทั่งตามตลาดนัด
มีการแข่งขันกันสูงขึ้นทุกๆปี แทบไม่ตั้งกับร้านอาหารหรือร้านเสริมสวย แถมยังเปิดร้านใหญ่โตติดถนนใหญ่ รถไฟฟ้าวิ่งผ่าน สะดวกมากมาย

2.ธุรกิจสักลายยังไม่เป็นงานที่ถูกกฎหมายในไทย

ขณะนี้ปี 2020 ธุรกิจการสักตัว ยังคงเป็นธุรกิจสีเทาๆ เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น ต่างกันตรงที่คนไทยเป็นคนที่ยอมรับอะไรได้ไม่ยากเท่าไหร่ จะพูดว่าคนไทยมีการยอมรับเปิดใจได้มากกว่า หรือจะมองว่าคนไทยไม่สนใจที่จะหาข้อเท็จจริงในเรื่องอะไรที่ไม่เกี่ยวกับตัวเองมากนัก ก็สามารถพูดได้เช่นกัน
แต่ในการที่เราเปิดใจยอมรับนั้น แต่ควรจะละเว้นไว้ในสถานการณ์ที่รัฐควบคุมได้ เช่นเรื่องสุขอนามัย การกำหนดราคา การบริการและรับผิดชอบในกรณีเกิดความผิดพลาด จะเห็นได้ว่าบางช่วงเกิดข่าวคราวที่ค่อยดีนักในวงการสักของไทย จนกระทั่งทางภาครัฐได้ออกมาควบคุมดูแล บังคับว่าต้องจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจ หรือต้องมีใบอนุญาตินั่นเอง แต่เมื่อเรามองดูดีๆแล้วจะพบช่องโหว่ในการจดทะเบียนขอใบอนุญาติการสักอยู่ เพราะการสักไม่มีกฎหมายรบรองที่ชัดเจน และยังถูกจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มของคลินิกความงาม ซึ่งเงื่อนไขและกฎหมายบางข้อมันไม่สามารถใช้ด้วยกันได้

3.ถูกจำกัดสิทธิ

อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ทำธุรกิจส่วนตัวสักเท่าไหร่นัก แต่กระทบกับบุคคลที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นองค์กรใหญ่ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งมันหมายถึงต้องสร้างภาพลักษณ์ให้เหมาะสมต่อตำแหน่งงานและหน้าที่ จึงจะเห็นได้ว่าข้าราชการในแขนงต่างๆของประเทศไทยยังมีการจำกัดเรื่องนี้อยู่

|สรุป|

ง่ายๆเลย จะเห็นได้ว่า “การสักลาย” หากมองในแง่ของศิลปะแล้วอาจจะไม่มีอะไรน่าเสียหายเลย แต่หากมองในแง่ของธุรกิจแล้ว ก็ยังคงเป็นเพียงธุรกิจสีเทาของทั้ง 2 ประเทศ การที่สังคมไทยเปิดรับและให้อิสระในการประกอบธุรกิจมากกว่า นี่อาจจะเป็นเพียงข้อแตกต่างเล็กๆน้อยๆที่ผู้เขียนพยายามจะยกขึ้นมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.