Hannyamask and Lotus

Irezumi ในมุมมองช่างญี่ปุ่น |วะโบะริ 5 ส่วน| หน้ากากฮันเนียและดอกบัว

 

 

รอยสักแรก”     ของลูกค้าคนไทย

กับงานญี่ปุ่น 5 ส่วนในชื่อ “หน้ากากฮันเนียและดอกบัว

โดยงานนี้ช่างได้เริ่มสักจากสิ้นเดือนสิงหาคม

ในงานขนาดนี้ จบได้ภายใน2เดือนถือว่าค่อนข้างไวกว่าปกติเลยครับ

 


หลังจากเสร็จส่วนหน้าอกแล้ว (ลูกแก้วและดอกบัว)
จากภาพกำลังตกสะเก็ดพอดีเลยครับ

เนื่องจากส่วนที่จะต้องทำวันนี้เป็นแขน ช่างจึงลงความเห็นว่า..
สามารถทำต่อได้ครับ…แต่ยังไงก็ไม่อยากแนะนำครับ
ถ้าไม่รีบและหากมีเวลามากกว่านี้ควรจะรอให้สะเก็ดหลุดหมดเสียก่อนจะจึงเริ่มสักต่อ
เนื่องจากจะทำให้ช่างสักได้สะดวกและลงสีลงเส้นง่ายกว่ามาก

และงานจะออกมาสะอาดและดูดีเท่าที่ควรจะเป็นครับ


ดีกว่ายังไง?

-แผลยังไม่หายดีจะทำให้ช่างไม่สามารถลงแรงกดและดึงผิวได้เต็มที่ ทำให้สีที่ออกมาอาจจะไม่เนียนและสม่ำเสมอ
-ในกรณีที่สะเก็ดยังเหลือเป็นแผ่นเล็กแผ่นน้อย…จะทำให้สะเก็ดไปอุดตันปลายเข็มทำให้ต้องเสียเวลาทำความสะอาดปลายเข็มบ่อยๆ
(หากช่างขี้เกียจเช็ดปลายเข็มโดยให้เหตุผลว่าเสียเวลา จะทำให้ผลเสียไปตกที่งานเต็มๆครับ)
2 เหตุผลหลักๆนี้ น่าจะพอเพียงให้หลายๆคนเผื่อเวลาในการสักมากขึ้น
เพราะการมีเวลาค่อนข้างน้อย แต่รีบจะเสร็จงาน
ล้วนจะไม่ทำให้เกิดผลดีเลยครับ

แต่ครั้งนี้เป็นเพราะลูกค้ามีเวลาว่างน้อย เลยต้องรีบจบงาน ลักษณะเช่นนี้ก็มีบ้างบ่อยๆ
ก็ให้เป็นการตัดสินใจของช่างเป็นกรณีๆไปครับ

————————————————-

 

ไล่เฉดสีที่หน้ากากฮันเนีย

กำหนดไว้ว่า หน้ากากฮันเนียเป็นสีเหลือง
ที่เหลือให้ช่างลงรายละเอียดได้ตามเห็นสมควร
ช่างใส่รายละเอียดที่ตัวหน้ากากโดยลงขอบสีแดงไล่ไปเหลือง
สีที่ได้ออกมาลูกค้าชอบ ก็โล่งอกครับ

ในการสักลายวะโบะริที่แขนนั้นปกติ ในส่วนของใต้รักแร้ท้องแขนด้านในนั้น
เป็นส่วนที่ไม่โชว์กันอยู่แล้ว ช่างจะเว้นโดยทำเป็น “ตัววี” ไว้
ในพื้นที่ว่างส่วนนั้นหลายๆคนนิยมให้ออกเป็น “ถุงนำโชค“(Omamori) ในสไตล์ญี่ปุ่นครับ

ลวดลายของถุงนำโชคนั้นสามารถใส่รายละเอียดอื่นๆได้อีกนะครับ

ส่วนงานนี้ลูกค้าให้ใส่คันจิ ในความหมายว่า แม่

คันจิคำว่าแม่ในถุงนำโชค

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.